วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554




โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทอน จังหวัดอุดรธานี

ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ความโดยสรุปคือ ในบริเวณใกล้ป่าต้นน้ำห้วยทอนสมควรที่จะพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก และพัฒนาหมู่บ้านให้การช่วยเหลือราษฎรในรูปหมู่บ้านป่าไม้ และพัฒนา อาชีพของราษฎรให้มั่นคงอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ราษฎรบุกรุกเข้าไปทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ 
    1. ป้องกันรักษาต้นน้ำลำธารและควบคุมไฟป่าในพื้นที่โครงการท้องที่ อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี พื้นที่ประมาณ 75,000 ไร่
    2. จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพราษฎรที่อยู่ในโครงการ
    3. เร่งรัดดำเนินการฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสภาพเดิมเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และอนุรักษ์
  สิ่งแวดล้อม                     
    4. เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับราษฎรและเยาวชน
    5. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพระบบเกษตรป่าไม้ให้กับราษฎร
ที่ตั้งโครงการ
   ท้องที่ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติ ป่าพานพร้าวและ ป่าแก้งไก่ ท้องที่ ตำบลพระพุทธบาท และ ตำบลด่านศรีสุข อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
หน่วยที่รับผิดชอบโครงการ
   สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย
ระยะเวลาดำเนินการ
   ระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี เริ่มปี พ.ศ. 2537 - 2541
พื้นที่โครงการ
   จังหวัดอุดรธานี 75,000 ไร่ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงานและพื้นที่ข้างเคียง) จังหวัดเชียงราย

 โครงการชลประทานชุมชน (แม่ถาง) อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

ประวัติโครงการ จากการดำเนินงานโครงการการกระจายการผลิตในเขตชลประทานราษฎร์ภาคเหนือ  ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จำนวน 10 หน่วยงาน  รับผิดชอบในการดำเนินงาน คือ กรมชลประทาน  กรมป่าไม้  กรมวิชาการเกษตร  การส่งเสริมการเกษตร  กรมประมง  กรมส่งเสริมสหกรณ์  กรมพัฒนาที่ดิน  กรมปศุสัตว์  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  และสำนักงานการเกษตรภาคเหนือได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  เพราะช่วยให้เกษตรกรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม  การประสานงานระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยดี และบรรลุผลตามเป้าหมายเป็นผลให้ธนาคารโลกเห็นชอบให้กรม        ชลประทาน นำรูปแบบของการพัฒนาโครงการในลักษณะนี้ไปประยุกต์ใช้ในโครงการอื่นๆ ในภาคเหนือ โดยจัดทำข้อเสนอยื่นต่อกองทุนเงินช่วยเหลือในการวางนโยบายและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  จากประเทศญี่ปุ่น  เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือภาควิชาการในการจัดทำรายงานความเหมาะสมของโครงการพัฒนา     ชลประทานชุมชน  เป็นเงินประมาณ 50 ล้านเยน  ในการนี้ กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาปัญญา คอนซัลแต้นท์ ร่วมกับ บริษัทเซ้าอี๊สเอเซียเทคโนโลยี  จำกัด  ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม  ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ในเดือน  มกราคม 2540
 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
       1. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้ใช้น้ำในชลประทานราษฎร์  ที่มีอยู่เดิม(PIA) และกลุ่มผู้ใช้น้ำเพิ่มเติมของโครงการเพื่อ     เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และผลตอบแทนต่อหน่วยน้ำต้นทุน
 2. ปรับปรุงและขยายระบบชลประทาน  ในพื้นที่โครงการที่มีหัวงานเป็นอ่างเก็บน้ำไว้แล้ว  ในเขตภาคเหนือ
 3.  สนับสนุนการเพิ่มรายได้ในการเกษตร  โดยการกระจายการผลิตในระดับไร่นา
เป้าหมาย
         ระบบส่งน้ำโดยคลองดาดคอนกรีตยาวประมาณ  47.00  กม.
สถานที่ดำเนินการ
  โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ถาง  ตั้งอยู่ที่  ต.บ้านเวียง  ต.น้ำเลา  อ.ร้องกวาง  จ.แพร่  พิกัดตาม แผนที่ทหาร  พิกัด 47 QPA 398-149  ระวาง  5045 I  ลำดับชุด L –7017  ห่างจากที่ตั้งอำเภอประมาณ 17  กมห่างจากที่ตั้งจังหวัดประมาณ 26 กม
ผลประโยชน์ของโครงการ
-สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น  20,000 ไร่
-เพื่ออุปโภคและบริโภค
-เป็นแหล่งประมงน้ำจืด
 ความก้าวหน้าของโครงการ
 ด้านออกแบบ
-จ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบ  ผลงานแล้วเสร็จ 100%
 ด้านที่ดิน
-ดำเนินการปักหลักเขตแล้วเสริม
-อยู่ระหว่างรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อจ่ายค่าทดแทนต่อไป
 ด้านป่าไม้
-ดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าไม้แล้ว  ตามหนังสือเลขที่ กษ 0303/16  ลงวันที่  3 มิถุนายน 2546
-ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่
 ผลการดำเนินงานในปัจจุบัน
-อยู่ระหว่างรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน  และดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าไม้

ความเป็นมา เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีความสนพระทัยที่จะพัฒนาพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียง รายให้เป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดและเป็นโครงการทดลองรูปแบบการพัฒนาเบ็ดเสร็จ เพื่อจะขยายผลการช่วยเหลือ ประชาชน ในพื้นที่ต่าง ๆ เนื่องจากทรงเจริญพระชนมพรรษามาก แล้วการที่จะแปรพระราชฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆคงไม่
สามารถทรงงานเช่นเดิมได้จากพระราชประสงค์ดังกล่าว จึงทรงมีรับสั่งในเรื่องการพัฒนาดอยตุงกับผู้บัญชาการทหาร บกและคณะในการเข้าเฝ้ากราบบังคมทูล ขอถวายรายงานการจัดงาน ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง เมื่อต้นเดือนมกราคม 2530 เพื่อพิจารณาดำเนินการพัฒนาตามความเหมาะสม คณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย ได้แต่งตั้งคณะ ทำงานดำเนินงานในพื้นที่ทรงงาน โครงการพัฒนาดอยตุง ตามคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่
55/2531 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2531 ให้มีหน้าที่พิจารณากำหนดพื้นที่ที่ทรงงานและวาง แผนให้เหมาะสมการดำเนิน งานในพื้นที่ทรงงานได้เริ่มในปลายปีงบประมาณ 2531 เป็นต้นมาต่อมาคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมนี้ได้มอบให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารโครงการฯ คณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนงานโครงการมี คณะกรรมการ กปร. ให้การสนับสนุนงบประมาณ 3 ปี คือตั้งแต่ปี 2532-2534

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการพัฒนาพื้นที่ป่าเขาบริเวณ ดอยตุง
จังหวัดเชียงราย ให้เป็นพื้นที่ป่าไม้แหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ มีการใช้ที่ดินป่าไม้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยความร่วมมือในการ ฟื้นฟูสภาพป่าจากราษฎรในพื้นที่ และภาคเอกชนเข้าร่วมกัน

  2. เพื่อหารูปแบบการพัฒนาป่าไม้อย่างเป็นระบบ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปใน อนาคต
  3. เพื่อสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของต้นไม้ให้เกิดขึ้นในจิตใจประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ

  4. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการโดยการควบคุมไฟป่าและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อป้องกันการบุก
รุก ทำลายป่า


ที่ตั้งโครงการ
 บริเวณพระตำหนักดอยตุง ถ.ห้วยไคร้-พระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไร่ อ.แม่จัน จ. เชียงราย


หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ    
  สำนักงานป่าไม้จังหวัดเชียงราย


ระยะเวลาดำเนินการ
 เริ่มดำเนินการปี 2537


พื้นที่โครงการ
ประมาณ 93,750 ไร่

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ถึงนาย

สวัสดีมายเฟรดรักพวกแกมากนะตั้งแต่เราจากกันมา
จากวันนี้จะมีเราเราและนาย